วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

หน่วยที่2 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


1. ระบบและวิธีการเชิงระบบ
ระบบ เป็นการรวมกันขององค์ประกอบย่อยๆ ที่ทำหน้าที่ของตนเอง และมีปฏิสัมพันธ์กัน เพื่อดำเนินงานให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้  โดยระบบนั้นอาจเกิดโดยธรรมชาติหรือมนุษย์เป็นผู้ออกแบบและสร้างสรรค์ขึ้นก็ได้ ทั้งนี้ทุกระบบจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการคือ 1) ปัจจัยนำเข้า (input) ได้แก่ จุดมุ่งหมาย ทรัพยากร ปัญหาต่างๆ 2) กระบวนการ (process) ได้แก่ ขั้นตอนการทำกิจกรรมหรือการดำเนินงาน และ 3) ผลลัพธ์ (output) ซึ่งเป็นผลงานหรือผลผลิตที่ได้    ส่วนวิธีการเชิงระบบ (systematic approach) หรือวิธีระบบ (system approach) หรือเรียกได้    อีกอย่างหนึ่งว่าการจัดระบบ


2. วิธีการเชิงระบบ
วิธีการเชิงระบบ (Systems Approach) เป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดให้ เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ เพื่อให้การทำงานนั้น ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ถ้าระบบการทำงานใด ๆ มีผลผลิตหรือผลที่ได้รับ (output) ทั้งคุณภาพและปริมาณมากกว่าทรัพยากร หรือข้อมูล (input) ที่ใช้ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพ ในทางตรงกันข้ามถ้าหาระบบการทำงานใด มีผลผลิต หรือผลที่ได้รับต่ำกว่าทรัพยากรที่ใช้ไป ก็ถือว่าระบบนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพ
3.           ระบบสารสนเทศ
            ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์  ซอฟท์แวร์  ระบบเครือข่าย  ฐานข้อมูล  ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ  พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา  ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด  รวบรวม จัดเก็บข้อมูล  ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ  การวางแผน  การบริหาร การควบคุม  การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร
4. องค์ประกอบระบบสารสนเทศ
ในระบบสารสนเทศประกอบด้วยงานหลัก 4 ประการคือ การนำข้อมูล สารสนเทศเข้าสู่ระบบ การประมวลผลสารสนเทศ การจัดเก็บสารสนเทศและการแสดงผลลัพธ์ที่นำไปใช้ได้ตามที่ต้องการ
 - การนำข้อมูล : สารสนเทศเข้าสู่ระบบ : สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น การนำข้อมูลจากแหล่งข้อมูล (source data) เข้าสู่ระบบ ได้แก่ ใบรับเงินจากรายการที่สั่งซื้อ หรือ เป็นการเรียก ข้อมูลเก่า (ที่เคยบันทึกไว้แล้ว) เพื่อนำมาตรวจสอบ หรือเป็นการตอบรับหรือปฏิเสธจากหน้าจอ หรือเป็นการสั่งให้ทำงาน ได้แก่ สั่งให้ออกใบส่งของ หรือเป็นการส่งข้อความแก่ผู้ใช้คนอื่น ในระบบ รวมทั้งการปรับปรุงข้อมูลโดยเฉพาะการพิมพ์เอกสาร ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนแปลงข้อความหรือแก้ไข ตัวเลขให้ถูกต้องได้
 - การประมวลผล : ในระบบสารสนเทศสามารถประมวลผลข้อมูล / สารสนเทศได้หลายวิธี ได้แก่ การจัดเรียงข้อมูล การเรียกใช้ข้อมูลที่จัดเก็บไว้แล้วและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยขึ้น การสรุป สารสนเทศ การคัดเลือกสารสนเทศ (ได้แก่ เลือกรายชื่อลูกค้าที่ใช้บริการมานานกว่า 5 ปี) รวมทั้งการคำนวณทางคณิตศาสตร์และการเปรียบเทียบทางตรรกะ
ขการจัดเก็บสารสนเทศ : ระบบสารสนเทศปัจจุบันสามารถจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ ทั้งที่อยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ต่าง ๆ และภาพประกอบ ได้แก่ กราฟิก ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และ เสียง ไว้ในรูปของฐานข้อมูลและ Web base รวมทั้งฐานความรู้ (Knowledge base)
การแสดงผลลัพธ์ : ผลลัพธ์จากระบบสารสนเทศที่ออกมาในรูปของรายงานเอกสารทุกประเภท เรียกว่า hard copy ส่วน soft copy เป็นการแสดงผลบนหน้าจอภาพหรือระบบ เสียง รวมทั้งคำสั่งที่ใช้ควบคุมหุ่นยนต์หรือการทำงานในระบบอัตโนมัติต่าง ๆ
5. ขั้นตอนการจัดการสารสนเทศ
การเก็บรวบรวมข้อมูล
สมมตินักเรียนต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเรื่องอาชีพของคนในหมู่บ้านนักเรียนอาจเริ่มต้นด้วยการออกแบบสอบถามสำหรับ การไปสำรวจข้อมูลเพื่อให้ครอบครัวต่างๆในหมู่บ้านกรอกข้อมูลมีการส่งแบบสอบถามไปยังผู้กรอกข้อมูลเพื่อทำการกรอกรายละเอียด มีการเก็บรวมรวมข้อมูลมีเทคนิคและวิธีการหลายอย่างเช่นการใช้เครื่องจักรช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตรวจจากรหัสแท่งหรืออ่าน ข้อมูลที่ใช้ดินสอระบายตำแหน่ง ที่กรอกข้อมูล


6. ประเภทของระบบสารสนเทศ
             ปัจจุบันจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร กับระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศชัดเจนมากขึ้น  และเนื่องจากการบริหารงานในองค์กรมีหลายระดับ  กิจกรรมขององค์กรแต่ละประเภทอาจจะแตกต่างกัน  ดังนั้นระบบสารสนเทศของแต่ละองค์กรอาจแบ่งประเภทแตกต่างกันออกไป 

7. ข้อมูลและสารสนเทศ

  • 1. หน่วยที่3ข้อมูลและสารสนเทศ
  • 2. ความหมายข้อมูล (DATA) คือ ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ ข้อมูล จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการ รวบรวม ข้อมูลอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง แต่ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการตัดสินใจได้ทันที ต้องผ่านการวิเคราะห์ก่อน
  • 3. รูปแบบของข้อมูลข้อมูลรูปภาพ
  • 4. รูปแบบของข้อมูลข้อมูลตัวอักษร
  • 5. รูปแบบของข้อมูลข้อมูลตัวเลข
  • 6. รูปแบบของข้อมูลข้อมูลเสียง
  • 7. รูปแบบของข้อมูลข้อมูลสัญลักษณ์
  • 8. รูปแบบของข้อมูลข้อมูลภาพเคลื่อนไหวและเสียง
  • 9. แหล่งที่มาของข้อมูลแบ่งได้ 2 ประเภท1.แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (แหล่งข้อมูลชั้นต้น)ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวม หรือบันทึกจาก แหล่งข้อมูลโดยตรง พบเห็นด้วยตนเองเป็นเรื่องที่ยังไม่มีการ รวบรวมมาก่อน
  • 10. แหล่งที่มาของข้อมูลแบ่งได้ 2 ประเภท1.แหล่ง ข้อมูลทุติยภูมิ (แหล่งข้อมูลชั้นที่ 2)เป็นข้อมูลที่รับต่อหรือรู้มาจากมาจากผู้อื่นอีกที ข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้ให้แล้ว
  • 11. ตัวอย่างของข้อมูลอายุของนักเรียนชั้น ป.3/5จำนวนเงินที่นักเรียนนำมาโรงเรียนใน 1 วัน น้ำหนักของนักเรียงชั้น ป.3/3ส่วนสูงของนักเรียนชั้น ป.3/4 คะแนนสอบวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้น ป.3/7
  • 12. ลักษณะของข้อมูลที่ดีต้องมีความถูกต้องความรวดเร็วและเป็นปัจจุบันความสมบูรณ์ไม่ตกหล่นความชัดเจนและกะทัดรัด ความสอดคล้อง ความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญ
  • 13. ประโยชน์ของข้อมูลเพื่อการเรียนรู้เราสามารถใช้ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียน การประกอบอาชีพ การทำงานหรือในกิจกรรมอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันได้2. เพื่อการสื่อสารการที่เรามีข้อมูลต่าง ๆ หรือรับรู้ข้อมูลที่ตรงกับคนอื่น ๆ ทำให้เรา สามารถร่วมสนทนาพูดคุยกันถึงเรื่องนั้น ๆ ได้3. เพื่อการตัดสินใจการที่เราจะตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การเรียน การซื้อสิ่งของ เราจำเป็นจะต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้น เพื่อที่จะทำให้เราตัดสินใจได้ง่าย สะดวก ถูกต้องและรวดเร็ว
  • 14. การจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูล1.โดยการสังเกต2.โดยวิธีการสัมภาษณ์ 3.โดยวิธีการใช้แบบสอบถาม 4.โดยวิธีการทดสอบหรือทดลอง 5.โดยวิธีการใช้แบบสำรวจ
  • 15. สื่อในการบันทึกข้อมูล
  • 16. สื่อในการบันทึกข้อมูล
  • 17. สื่อในการบันทึกข้อมูล
  • 18. สื่อในการบันทึกข้อมูล
  • 19. สื่อในการบันทึกข้อมูล
  • 20. สื่อในการบันทึกข้อมูล
  • 21. สื่อในการบันทึกข้อมูล
  • 22. สื่อในการบันทึกข้อมูล
  • 23. สื่อในการบันทึกข้อมูล
  • 24. สื่อในการบันทึกข้อมูล
  • 25. สารสนเทศ (Information)
  • 26. ความหมายข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหรือตอบปัญหาต่าง ๆ ได้
  • 27. คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี1. สารสนเทศที่ดีต้องมีความความถูกต้อง และไม่มีความผิดพลาด2. ผู้ที่มีสิทธิใช้สารสนเทศสามารถเข้าถึง สารสนเทศได้ง่าย ในรูปแบบและเวลาที่เหมาะสม ตามความต้องการของผู้ใช้3. สารสนเทศต้องมีความชัดเจน ไม่คลุมเครือ4. สารสนเทศที่ดีต้องมีความสมบูรณ์ บรรจุไปด้วยข้อเท็จจริงที่มีสำคัญครบถ้วน5. สารสนเทศต้องมีความกะทัดรัด หรือรัดกุม เหมาะสมกับผู้ใช้
  • เกรดเฉลี่ยของวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนø28. ตัวอย่างสารสนเทศ อายุเฉลี่ยของพนักงานในบริษัทชินวัตรจำกัดø ข้อสรุปจากการสำรวจøราคาขายสูงสุดของหนังสือในร้านหนังสือดอกหญ้า ø จำนวนเงินรวมที่ธนาคาร ได้รับฝากในหนึ่งวันø
  • 29. ตาราง แสดงการเปรียบเทียบระหว่างตัวอย่างข้อมูลกับตัวอย่างสารสนเทศ
  • 30. ข้อมูลประมวลผลสารสนเทศเกรด- การคำนวณทางคณิตศาสตร์ (+,-,*,/ , ฯลฯ)- การเรียงลำดับข้อมูล- การแสดงแผนภูมิ ฯลฯเกรดเฉลี่ยอายุอายุเฉลี่ยน้ำหนักน้ำหนักน้อยที่สุดกระบวนการการจัดการข้อมูลเป็นสารสนเทศ